ชื่อปริญญาและอักษรย่อ
   

ชื่อเต็ม (ไทย) :บัญชีบัณฑิต
ชื่อย่อ (ไทย) : บช..
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Accountancy
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Acc.

  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 129 หน่วยกิต
  ความพิเศษของหลักสูตร
 
  • ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) และ สำนักงานข้าราชการพลเรือน ( ก.พ.) สามารถรับราชการได้ทุกประเภท
  • ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีได้ สามารถสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร(TA)  ผู้สอบบัญชีรับใบอนุญาต(CPA) และผู้สอบบัญชีประเภทอื่นได้
  • รายวิชาของหลักสูตรทันสมัยเป็นไปตามความต้องการของสภาวิชาชีพการบัญชี ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบข้อบังคับทางการบัญชีของประเภทไทย
  • การเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนยึดมั่นในจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณของนักบัญชี และมีจิตสาธารณะ เพื่อให้เป็นนักบัญชีที่ดีในอนาคต
  • สร้างบุคลิกภาพนักบัญชีที่ดี ได้แก่ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ละเอียดรอบครอบ ถี่ถ้วน มีความรู้แน่นในภาคทฤษฎีและประยุกต์ใช้กับองค์การได้ กำหนดเป้าหมายชัดเจน กล้านำเสนอ ทบทวนตัวเองทุกปี เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสารและสิ่งใหม่ๆเสมอ
  แนวทางการประกอบอาชีพ
 

   ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชี ได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระและการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดังต่อไปนี้

(1) ผู้ทำบัญชี
(2) เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
(3) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับบัญชีบริหาร
(4) ผู้ทำบัญชีภาษีอากร
(5) ผู้วางระบบบัญชี
(6) อาจารย์ผู้สอนบัญชี
(7) ผู้ตรวจสอบและควบคุมภายใน
(8) ที่ปรึกษาทางการเงินและบัญชี
(9) ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี
(10) ด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุ สอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร เปิดสำนักงานรับทำบัญชี

คุณสมบัติของผู้เรียน
 
  • ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี (ภาคปกติ และภาคปกตินอกเวลา 4 ปี)
    - สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ประกาศนียบัตรวิชาชีพอื่น จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า

    - สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการจัดการทั่วไปและการตลาด หรือสาขาวิชาทางด้านบริหารธุรกิจ หรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบวิทยาลัยว่าด้วยการเทียบโอนผลการเรียน
โครงสร้างหลักสูตร
  โครงสร้างหลักสูตรแบ่งเป็นหมวดวิชาสอดคล้องตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ดังนี้
   
 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
  1.1) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
  1.2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
  1.3) กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์
  1.4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์
30 หน่วยกิต
6 หน่วยกิต
6 หน่วยกิต
9 หน่วยกิต
9 หน่วยกิต

 

 

 2) หมวดวิชาเฉพาะ
  2.1) กลุ่มวิชาแกน
  2.2) กลุ่มวิชาเอกบังคับ
  2.3) กลุ่มวิชาเอกเลือก
93 หน่วยกิต
36 หน่วยกิต
42 หน่วยกิต
15 หน่วยกิต

 

 

3) หมวดวิชาเลือกเสรี

6 หน่วยกิต

   

รวมจำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

129 หน่วยกิต