ชื่อปริญญาและอักษรย่อ
   

ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.. (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Logistics  Management)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Logistics  Management)

  วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะหลักสูตร
    หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยมุ่งเน้นความรู้ในดำเนินงานของธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนการพัฒนาการจัดการระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อการแข่งขันกับต่างประเทศอันส่งผลต่อความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานของทุกองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต
  แนวทางการประกอบอาชีพ
 
  1. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมและแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)
  2. พนักงานในองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซับพลายเชน/โลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง และในระดับบริหารทำงานด้านการวิเคราะห์เกี่ยวกับโลจิสติกส์ ผู้วางแผนและจัดการวัตถุดิบ นักวิเคราะห์การปฏิบัติการหรือโซ่อุปทาน ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อฝ่ายขนส่ง
  3. ธุรกิจด้านการขนส่งทุกประเภท บริษัทเรือ สายการบิน การขนส่งทางบก บริษัทตัวแทนเรือ บริษัทตัวแทนการนำเข้าและส่งออก บริษัทรับขนส่งสินค้าทางทะเล/อากาศ/บก การท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือหรือท่าเทียบเรือของเอกชน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย สนามบิน
  4. องค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การไฟฟ้า องค์กรการค้าโลก สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย เป็นต้น

 

คุณสมบัติของผู้เรียน
  ผู้สมัครเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี (ภาคปกติและภาคสมทบ)
 
  • ผู้สมัครเข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพอื่น จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า
  • หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า เพื่อเข้ารับการเทียบโอน
โครงสร้างหลักสูตร
   
 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
  1.1) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
  1.2) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
  1.3) กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์
  1.4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์
30 หน่วยกิต
6 หน่วยกิต
6 หน่วยกิต
12 หน่วยกิต
6 หน่วยกิต

 

 

 2) หมวดวิชาเฉพาะ
  2.1) กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ
  2.2) กลุ่มวิชาเอกบังคับสาขา
  2.3) กลุ่มวิชาเอกเลือก
  2.4) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา
96 หน่วยกิต
45 หน่วยกิต
30 หน่วยกิต
15 หน่วยกิต
6 หน่วยกิต

 

 

3) หมวดวิชาเลือกเสรี

6 หน่วยกิต

   

รวมจำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

132 หน่วยกิต